นักเรียนเก่า ที่มีชื่อเสียง

นายแพทย์อุดม โปษะกฤษณะ


นายแพทย์อุดม โปษะกฤษณะ
เกิด วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๔๕๓
กรุงเทพมหานคร
อนิจกรรม วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐
บิดา พระยาเกษตรรักษา (เจี้ยง โปษะกฤษณะ)
มารดา คุณหญิงเกษตรรักษา (แช่ม โปษะกฤษณะ)
ภรรยา คุณหญิง มัทนี โปษะกฤษณะ
บุตร-ธิดา นายอภิราม
นายอนิรุทธิ์
นางอภิฤดี เหมะจุฑา
นางสาวอนินทิตา
การศึกษา
อนุบาล โรงเรียนครูไซ
ประถมศึกษา โรงเรียนเทพศิรินทร์ (๒๐ ปี)
โรงเรียนอัสสัมชัญ
มัธยมศึกษา โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์
อุดมศึกษา เตรียมแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย (พศ. ๒๔๗๓)
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
(พศ. ๒๔๗๕-๘)
ปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต (พศ.๒๔๗๙) (ได้รับเหรียญทองในฐานะเป็นที่ ๑ ในวิชา
สรีรวิทยา พยาธิวิทยา และอายุรศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร ๑๐๗๐๐.
ทองสำหรับความเป็นเยี่ยม ตลอดหลักสูตรแพทยศาสตร์
บัณฑิต ๔ ปี)
หลังปริญญา
ได้รับทุนอเล็กซานเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์ ไปศึกษา
วิชาทันตแพทย์ที่เมืองไลปซิก ประเทศเยอรมัน (พศ. ๒๔๘๔)
ปริญญา Dr. Med. Dentistry (พศ. ๒๔๘๔)
(เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
ปริญญา Dr. Med. เมือง Heidelberg ประเทศ
เยอรมัน (พศ. ๒๔๘๕) (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
ได้รับ Facharzt fur Chirurgie (พศ. ๒๔๘๖-๙)
เป็นผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ จากแพทยสภาเวียนนา
ได้รับพระราชทาน ปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎี
บัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พศ. ๒๕๒๔)
การทำงาน
๒๔๗๙ แพทย์ประจำบ้านแผนกอายุรศาสตร์
๒๔๘๐ อาจารย์ แผนกกายวิภาคศาสตร์
๒๔๙๑ อาจารย์ตรี แผนกศัลยศาสตร์
๒๔๙๒ อาจารย์โท แผนกศัลยศาสตร์
๒๔๙๓ อาจารย์เอก แผนกศัลยศาสตร์
๒๔๙๙ อาจารย์พิเศษ แผนกศัลยศาสตร์ และ
ศาสตราจารย์
เวชบันทึกศิริราช มรณานุสรณ์
กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๔, ปีที่ ๔, ฉบับที่ ๓
๙๙
๒๔๙๙-๒๕๑๒ เป็นศาสตราจารย์หัวหน้าแผนก
ศัลยศาสตร์
๒๕๑๒-๒๕๑๔ เป็นศาสตราจารย์หัวหน้าภาควิชา
ศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล สังกัดทบวง
มหาวิทยาลัย
๒๕๐๗-๒๕๑๐ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราช
พยาบาล ครั้งที่ ๑
๒๕๑๓-๒๕๑๖ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราช
พยาบาล ครั้งที่ ๒
๒๕๑๓ รักษาการ หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา
๒๕๑๗-๒๕๑๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
๒๕๑๗-๒๕๑๘ ประธานบริหารกลาง มูลนิธิแพทย์
อาสา สมเด็จพระศรีนครินทราบรม
ราชชนนี
๒๕๒๘-๒๕๓๔ เลขาธิการมูลนิธิ พอ. สว.
ดำรงตำแหน่งในหน้าที่พิเศษ
นายกสมาคมวิทยาลัยศัลยแพทย์นานาชาติ
แห่งประเทศไทย
นายกสมาคมแพทย์ประสาท แห่งประเทศไทย
ประธานราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ แห่งประเทศไทย
(คนแรก)
ประธานสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ในพระ
ราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พศ.
๒๕๓๕-๓๗)
อุปนายก สมาคมแพทย์ทางเดินอาหาร แห่ง
ประเทศไทย
อุปนายก สมาคมยูโด แห่งประเทศไทย
กรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ (พศ.
๒๔๙๒-๔, ๒๔๙๔-๖)
กรรมการจัดตั้งเมืองโรงพยาบาล (พศ. ๒๔๙๓)
กรรมการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่
กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
กรรมการมูลนิธิอานันทมหิดล
กรรมการศิริราชมูลนิธิ
กรรมการแพทยสภา
กรรมการจัดตั้งสมาคมทันตแพทยศาสตร์
บัณฑิต
กรรมการถวายการรักษาพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว
กรรมการถวายการผ่าตัดรักษาสมเด็จพระเจ้า
ลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์
กรรมการถวายการผ่าตัดรักษา สมเด็จพระ
สังฆราช ๓ พระองค์
กรรมการ และเลขาธิการ มูลนิธิ พอ. สว.
การปฏิบัติงานที่แผนกศัลยกรรม
อาจารย์อุดม โปษะกฤษณะ เริ่มงานเมื่อเดือน
ตุลาคม ๒๔๘๙ เป็นคนหนุ่ม ปฏิบัติงานในสาขาวิชา
ศัลยศาสตร์ทั่วไป ท่านได้ปรับปรุงความรู้ในวิธีการผ่าตัด
ตามแบบอย่างยุโรป โดยเฉพาะเยอรมัน และออสเตรีย
ส่วนสาขาวิชา ศัลยศาสตร์ศีรษะ คอ และเต้านม เป็น
อีกสาขาหนึ่งที่อาจารย์ได้ปรับปรุงอย่างมาก เพราะเป็น
สาขาที่ท่านได้มีความชำนาญมาแล้วจากต่างประเทศ เช่น
การผ่าตัดรักษาโรคต่อมไทรอยด์ มะเร็งช่องปาก มะเร็ง
กรามช้าง มะเร็งเต้านม เป็นต้น ทำให้การรักษาในสาขานี้
เข้าสู่ระดับมาตรฐาน
บิดาแห่งประสาทศัลยศาสตร์ในประเทศไทย
เนื่องจากการขาดอาจารย์ที่มีความรู้ทาง
ศัลยกรรมสมอง ทำให้อาจารย์ในฐานะผู้รับผิดชอบ
สาขาศัลยกรรมศีรษะ คอ และเต้านม รวมทั้งสมองด้วย
ท่านจึงต้องฝึกอบรมให้ได้ด้วยตนเอง และสร้างคนทาง
ประสาทศัลยศาสตร์ โดยการสนับสนุน ส่งเสริม หาทุน
ติดต่อสถานฝึกอบรมในต่างประเทศ จนมีบุคลากรที่
เป็นกำลังของประเทศอย่างเต็มที่ ทั้งภายในศิริราช และ
โรงพยาบาลอื่น ๆ
การส่งเสริมสนับสนุนสาขาวิชาใหม่
แม้ศิริราชจะมีบุคลากรไม่มากในสมัยนั้น หาก
การที่หัวหน้าแผนกเปิดทางและสนับสนุนสาขาเหล่านั้น
ก็จะรุดหน้าไปอย่างมาก เช่น สาขาวิชาศัลยศาสตร์หัวใจ
เวชบันทึกศิริราช มรณานุสรณ์
กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๔, ปีที่ ๔, ฉบับที่ ๓
๑๐๐
และทรวงอก สาขาศัลยศาสตร์ตกแต่ง สาขาศัลยศาสตร์
หลอดเลือด
สาขาที่อาจารย์ต้องลงแรงมากในสมัยเป็น
คณบดี คือสาขาศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ ท่านได้ขวนขวาย
หาทุนสนับสนุน จนได้รับอนุเคราะห์จากธนาคารไทย
พาณิขย์ และธนาคารกสิกรไทย ให้ทุนในการสร้างตึก
อุบัติเหตุขึ้น มีที่ทำการแยกออกไปต่างหากแบบครบวงจร
จนเกิดสาขาวิชานี้ขึ้น เมื่อพศ. ๒๕๑๕
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ศิริราช (พศ. ๒๕๐๙-๒๕๑๗)
จังหวัดอุดรธานี
หลังมีการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง
ประเทศไทยในปี พศ. ๒๔๘๕ โดยตั้งหลักแถวภาคอีสาน
นายประสงค์ สุขุม อดีตเลขาธิการ ร.พ.ช. เห็นว่า จะต้อง
พัฒนาอีสานให้ดี ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการ
ใช้การแพทย์นำ จะเป็นวิธีการอันหนึ่งที่จะเข้าถึงและดึง
ประชาชนมาหาฝ่ายรัฐบาลได้มากขึ้น จึงได้เชิญ ศิริราช
จุฬาลงกรณ์ กรมการแพทย์ กรุงเทพ มาปรึกษาถึงการ
ออกพัฒนาการสาธารณสุขให้ชาวอีสาน
ในปี ๒๕๐๘ ศิริราชโดยการนำอาจารย์อุดม
โปษะกฤษณะ พร้อมด้วยอาจารย์ เปรม บุรี และคณะ
ได้เดินทางสำรวจ หาข้อมูลที่จังหวัดอุดรธานี ดูความ
ต้องการด้านสาธารณสุขของประชาชน และต่อมาได้มี
การจัดตั้งโครงการพัฒนาการแพทย์ในชนบทขึ้น โดยการ
สนับสนุนของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาการแพทย์ในชนบท
ได้มีการระดม แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ตลอดจนอุปกรณ์
ทางการแพทย์ที่ทันสมัยไปทำงานในโรงพยาบาลอุดรธานี
และสถานีอนามัยต่าง ๆ ที่ หนองบัวลำภู หนองหาน บ้าน
ผือ และอำเภอเพ็ญ โดยมีการหมุนเวียนอาจารย์ แพทย์
ประจำบ้าน พยาบาลไปทำงานอาสาตลอดหลายปี
ประธานราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
คนแรก
ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศ เริ่มมีการ
ดำริ ก่อตั้งขึ้น ในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ โดย
กลุ่มศัลยแพทย์ จำนวน ๒๐ ท่านในคณะอนุกรรมการ
สอบความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
สาขาศัลยศาสตร์ได้ประชุมหารือและเห็นพ้องต้องกันให้
ก่อตั้งวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย เพื่อเป็นองค์กร
รวมของศัลยแพทย์ในประเทศไทยที่มีบทบาททางวิชาชีพ
และวิชาการอย่างแท้จริงในสังกัดแพทยสภา และใน วัน
ที่๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๗ ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกก่อตั้ง
จำนวน ๑๒๑ ท่าน ต่อมาแพทยสภาได้เสนอให้รวบรวม
ผู้ได้รับวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติสาขาศัลยศาสตร์ของ
แพทยสภาบัณฑิตสมาชิกจากสถาบันศัลยศาสตร์ อัน
เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ เช่น FRCS, FRACS,
FACS, FICS, Facharzt fur Chirugie เข้าเป็นสมาชิก
สามัญของราชวิทยาลัยฯ จนในวันที่๑๒ พฤศจิกายน
พ.ศ.๒๕๑๘ นายกแพทยสภาได้ลงนามประกาศข้อบังคับ
ของแพทยสภา ว่าด้วยวิทยาลัยศัลยแพทย์ฯ โดยใช้เวลา
พิจารณาอยู่เป็นเวลา ๒ ปีเศษ และได้แต่งตั้งคณะผู้บริหาร
วิทยาลัยฯ ชั่วคราวโดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์อุดม
โปษะฤษณะ เป็นประธาน
มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราช
ชนนี (พอ. สว.)
อาจารย์มีส่วนร่วมในมูลนิธิ พอ. สว. ตั้งแต่เริ่ม
จดทะเบียนเป็นมูลนิธิ เมื่อพศ. ๒๕๑๗ โดยได้รับพระ
กรุณาโปรดเกล้า แต่งตั้งเป็นประธานกรรมการบริหาร
กลางของมูลนิธิ โดยถือกำเนิดจากพระกรุณาธิคุณของ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชธานี ซึ่งทรงมีพระราช
ประสงค์ให้จัดแพทย์และเจ้าหน้าที่อาสาสมัครทั้งส่วน
กลางและส่วนภูมิภาค ออกไปปฏิบัติงานพื่อช่วยเหลือ
ให้การรักษา ป้องกัน ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพอนามัยของ
ประชาชนและเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นถุรกันดารห่างไกล
คมนาคม
ในเวลาต่อมา อาจารย์เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการ
มูลนิธิ และต่อมาก็เป็นผู้ปฏิบัติงานเสียเองโดยไม่ได้ยึด
ติดกับตำแหน่ง ด้วยการสมัครเป็นอาสาสมัคร พอ.สว.
หมายเลข ๒๓๐๓๔
โครงการศัลยแพทย์อาสา พศ. ๒๕๑๘ ราชวิทยาลัย
ศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เวชบันทึกศิริราช มรณานุสรณ์
กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๔, ปีที่ ๔, ฉบับที่ ๓
๑๐๑
เมื่อครั้งตามเสด็จในหลวงขณะทรงประทับที่พระตำหนัก
ทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส พระเจ้าอยู่หัว
ทรงรับสั่งว่า เหตุการณ์ทางภาคใต้อันเนื่องมาจากการ
ก่อการร้าย อุบัติเหตุจากการจราจร อุตสาหกรรม และ
ภัยธรรมชาติมีจำนวนมากขึ้น แต่ยังขาดศัลยแพทย์
ประจำ ท่านอาจารย์จึงมีคำสั่งให้หาศัลยแพทย์อาสามา
ช่วย ต่อมาก็เป็นศัลยแพทย์อาสาสมัครเพื่อสนองพระ
มหากรุณาธิคุณ ศัลยแพทย์อาสา จึงกลายเป็นงานสนอง
พระราชประสงค์ทุกคราวที่เสด็จแปรพระราชฐานไปทาง
ภาคอีสาน ที่จังหวัดสกลนคร ทางภาคเหนือที่ค่ายกาวิละ
จังหวัดเชียงใหม่
จากการปฏิบัติงานด้วยความเสียสละของ
โครงการศัลยแพทย์อาสา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ รับวิทยาลัยศัลยแพทย์
ไว้ในราชูปถัมภ์ และมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อ “ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย” ตั้งแต่พศ. ๒๕๒๓
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
อาจารย์ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์
ระหว่างวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ถึงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์
๒๕๑๘ รวมเวลาทั้งสิ้น ๑๔ เดือน งานสำคัญที่สำเร็จมี
ดังนี้
๑. ปรับปรุงส่วนราชการใหม่ของกระทรวง
สาธารณสุข จนผ่านออกมาเป็นพระราชบัญญัติปรับปรุง
กระทรวง ทบวง กรม พศ. ๒๕๑๗ ทำให้กระทรวงมีความ
ก้าวหน้าขึ้นเป็นอันมาก
๒. ก่อตั้งการสาธารณสุขขั้นมูลฐาน สนับสนุน
ให้มีการจัดตั้งอาสาสมัครสาธารณสุขทั่วประเทศ โดยให้
ทำการทดลองเป็นโครงการนำร่องขึ้นที่จังหวัดลำปาง
๓. การยกฐานะผดุงครรภ์ซึ่งเป็นข้าราชการ
วิสามัญขึ้นเป็นข้าราชการสามัญ
๔. การจัดทำแผนพัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติ
๕. การตรวจเยี่ยม นิเทศงาน และชี้แจงนโยบาย
แก่หน่วยงานสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค
ปาฐกถาอุดม โปษะกฤษณะ
รางวัลแพทย์ดีเด่นในชนบท ก่อกำเนิดโดยคณะ
กรรมการประชุมวิชาการของคณะแพทยศาสตร์ศิริราช
พยาบาล เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๑๖ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่อง
สนับสนุน ให้กำลังใจ และประกาศเกียรติคุณแพทย์ใน
ชนบทที่มีผลงานดีเด่น และเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีของ
แพทย์ผู้อื่นในการพัฒนาสาธารณสุขในชนบทอื่นต่อไป
โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจะมอบโล่เกียรติยศ
เป็นรางวัล พร้อมกับเชิญเป็นผู้บรรยาย “ปาฐกถาเกียรติยศ”
ในวันรับมอบรางวัล เพื่อเป็นเกียรติแด่ศาสตราจารย์
นายแพทย์อุดม โปษะกฤษณะ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ หลังจากที่ศาสตราจารย์
นายแพทย์อุดม โปษะกฤษณะ ได้พ้นจากตำแหน่งคณบดี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแล้ว “ปาฐกถา
เกียรติยศ” จึงได้เปลี่ยนเป็น “ปาฐกถาอุดม โปษะกฤษณะ”
เพื่อให้เกียรติแก่อาจารย์ในฐานะเป็น “ครูแพทย์” ที่สำคัญ
ท่านหนึ่งของศิริราช เป็นที่นิยมยกย่องและคารวะเทิดทูน
ของศิษย์ในฐานะนักวิชาการที่ใฝ่ใจศึกษาอย่างกว้างขวาง
ลึกซึ้งในวิทยาการหลายสาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน
ศัลยศาสตร์และปัญหาสาธารณสุขในชนบท สร้างทัศนคิด
ที่ดีในการออกไปช่วยชาวชนบทท้องถิ่นที่ขาดแคลนแพทย์
และเป็นผู้ก่อตั้งโครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของศิริราช
ที่จังหวัดอุดรธานีอยู่ระยะหนึ่ง แม้ว่าท่านจะครบเกษียณ
อายุราชการไปแล้วก็ตาม ท่านก็ยังออกไปเยี่ยมเยียนเป็น
กำลังใจและเป็นที่ปรึกษาแก่แพทย์ที่ทำงานในชนบทอยู่
ต่อมาอีกเป็นเวลาหลายปี นามของท่านจึงสมควรปรากฏ
เพื่อเป็นตัวอย่างอันดีแก่บุคคลรุ่นหลังสืบไป
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ บรรดาศิษย์และญาติมิตร
ของท่านอาจารย์ได้ร่วมกันบริจาคเงินจำนวนหนึ่ง ก่อตั้ง
เป็น “ทุนศาสตราจารย์นายแพทย์อุดม โปษะกฤษณะ” ขึ้น
ในศิริราชมูลนิธิ โดยกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ให้ใช้ดอกผล
ดำเนินงานเกี่ยวกับ “ปาฐกถาอุดม โปษะกฤษณะ” ซึ่งทาง
คณะกรรมการประชุมวิชาการได้ขออนุมัติท่านอาจารย์ใช้
ดอกผลเป็นรางวัลแก่แพทย์ผู้ที่ได้รับรางวัลแพทย์ดีเด่นใน
ชนบท
เวชบันทึกศิริราช มรณานุสรณ์
กันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๔, ปีที่ ๔, ฉบับที่ ๓
๑๐๒
ความเป็นครู ศัลยแพทย์ นักบริหาร นักกีฬา และ
พุทธมามกะ
ศาสตราจารย์นายแพทย์อุดม โปษะกฤษณะ
เป็นคนร่างใหญ่ เป็นนักกายบริหารที่มีสุขภาพสมบูรณ์
เป็นนักเล่นกายกรรม ชอบการต่อยมวย ว่ายนํ้า โยคะ เล่น
ยูโด จนได้รับรางวัลเข็มขัดสายดำ
อาจารย์เป็นคนพูดน้อย ทว่าเด็ดขาด มีวินัย
สูง อาจารย์ไม่ดุมาก แต่ทุกคนยำเกรง อาจารย์ยังเป็น
ผู้มีจิตใจงาม โอบอ้อมอารี เป็นพื้นฐาน เป็นนักคิด นัก
ปฏิบัติ นักการศึกษา และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการ
แพทย์และทันตแพทย์อย่างสูงหลายสาขาวิชา ท่านเป็น
ครูแพทย์ที่ถ่ายทอดวิชาความรู้แก่บรรดาศิษย์น้อยใหญ่
อย่างมากมาย และเยียวยาผู้ป่วยอย่างกว้างขวาง ทั่วราช
อาณาจักร
อาจารย์ได้รับหน้าที่เป็นหัวหน้าแผนก และ
หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์นานที่สุดในประวัติศาสตร์
ของภาควิชา คือ ๑๔ ปี และเป็น ๑๔ ปีแห่งการเสียสละ
ของท่านอาจารย์ทั้งชีวิต จิตใจ สติปัญญา ความสามารถ
ที่จะฟื้นฟูแผนกศัลยศาสตร์หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ และ
สงครามมหาเอเซียบูรพา มาสู่สมัยความก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยีหลังสงคราม เพื่อให้ภาควิชาได้เจริญเทียบ
เท่าอารยประเทศ จึงนับว่าเป็นงานที่หนักหนาสาหัส และ
ที่สำคัญ อาจารย์ยังได้ทำให้ภาควิชา เป็นผู้นำทั้งด้าน
วิชาการ นวัตกรรม คุณธรรม จริยธรรม และการเข้าถึง
ประชาชนในสังคมชนบทอีกด้วย
ท่านได้มีโอกาสเข้าไปช่วยเหลือประชาชนใน
ถิ่นทุรกันดาร โดยเฉพาะในแถบอีสานหลายอำเภอ หลัง
เกษียณราชการ ท่านได้ร่วมช่วยงานราชการด้วยการเป็น
แพทย์อาสา บุกป่าฝ่าดงเข้าไปรักษาผู้ที่อยู่ในดินแดน
ลึกเข้าไปในท้องถิ่นนั้น ทำให้ท่านได้พบพระเกจิอาจารย์
หลายรูป จนทำให้อาจารย์สนใจในพระธรรมรส โดยเฉพาะ
ในสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เช่นพระอาจารย์ฝั่น อา
จาโร พระอาจารย์ขาว อานาลโย พระอาจารย์เทศก์ เทศน์
รังสี พระอาจารย์มหาบัว ซึ่งเป็นสายธารธรรม แห่งศีล
สมาธิ ปัญญาทั้งสิ้น และเป็นผู้ปฏิบัติจริยวัตรดีงามโดย
ตลอดชั่วชีวิต
บั้นปลายชีวิต
หลังเกษียณราชการ อาจารย์เดินทางเยี่ยม
และช่วยเหลือ ผู้ป่วย แพทย์ พยาบาล ในถิ่นทุรกันดาร
บ่อยครั้ง ด้วยเหตุนี้ ทางมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรี
นครินทราบรมราชชนนี ได้เล็งเห็นคุณประโยชน์ของ
อาจารย์ต่อวงการแพทย์ในชนบท จึงทรงพระราชทาน
โปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการมูลนิธิ ตั้งแต่
ปี ๒๕๒๘ จนถึงปี ๒๕๓๒ ขณะอายุได้ ๗๘ ปี ท่านเริ่มมี
อาการแน่นหน้าอก เป็นครั้งคราว อาจารย์ได้รับการผ่าตัด
เปลี่ยนเส้นเลือดหัวใจที่โรงพยาบาลศิริราช การผ่าตัดได้
ผลเป็นที่น่าพอใจ
ต่อมาอาจารย์เริ่มอาการแสดงทางสมอง เกิด
อาการเสื่อมทั้งด้านความจำ การเคลื่อนไหว และการ
ทรงตัว จนพศ. ๒๕๓๙ อาจารย์เริ่มมีอาการทรุดลง เกิด
อาการปอดอักเสบ และมีอาการแทรกซ้อนในหลายระบบ
อาจารย์ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลพร้อมมิตร และจาก
ไปอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐