นักเรียนเก่า ที่มีชื่อเสียง

นายโสภณ หะยาจันทา


โสภณ หะยาจันทรา นักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ รุ่น(รอข้อมูล)

นักฟุตบอลทีมชาติไทย ไปแข่งโอลิมปิคที่ออสเตรเลีย ปี พ.ศ.๒๔๙๖
ซึ่งเป็นครั้งแรกของทีมฟุตบอลชาติไทย

ฟุตบอลโอลิมปิก ครั้งที่ 16
ณ เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยามฯ ได้ทำการแก้ไขข้อบังคับลักษณะปกครอง พ.ศ. 2499
เพื่อเปลี่ยนชื่อสมาคมฯ เป็น "สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์" (The Football Association Of Thailand Under The Royal Patronage Of Hismajestic The King)
หรือ F.A.T.

ทีมชาติไทยชุดโอลิมปิก เมลเบิร์น
และในปีเดียวกัน จึงนำทีมลงสมัครเล่นรอบคัดเลือกปรี-โอลิมปิก (Pre-Olympic) ค.ศ. 1956 โดยชนะผ่านทีมพม่า, ฮ่องกง และอียิปต์ ทำให้ได้เป็นตัวแทนทวีปเอเชีย
รายชื่อทีมชาติไทยชุดเมลเบิร์น จำนวน 13 คน คือเกษม ใบคำ, ตุ๊ สุวณิชย์,
ประทีป เจิมอุทัย, สุกิจ จิตรานุเคราะห์, บำเพ็ญ ลัทธพิมล, วันชัย สุวารี, สุรพงษ์ ชุติมาวงศ์, โสภณ หะยาจันทรา, สำรวย (สำเริง) ไชยยงค์, นิตย์ ศรียาภัย, ประสันต์ สุวรรณสิทธิ์
, สุชาติ มุทุกัณฑ์ และวิวัฒน์ มิลินทจินดา (หัวหน้าทีม) โดยนายกอง วิสุทธารมณ์ เป็นผู้จัดการทีม และนายบุญชู สมุทรโคจร เป็นผู้ควบคุมทีม
โอลิมปิก ครั้งที่ 16 ณ เมืองเมลเบิร์น (Melbourne) เครือรัฐออสเตรเลีย (The Commonwoealth Of Australia) การแข่งขันฟุตบอลรอบสองหรือรอบ 16 ทีมสุดท้าย ใช้การจับสลากประกบคู่ ซึ่งทีมแพ้จะตกรอบทันที
วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ณ สนามเมืองเมลเบิร์น ทีมชาติไทยลงสนามพบทีมชาติอังกฤษ ท่ามกลางผู้ชมชาวออสซี่กว่า 2,000 คน ในสภาพอากาศหนาวเย็นจนนักเตะไทยต้องสวมใส่เสื้อหนาหลายชั้นเพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น
ทีมไทยสวมชุดสีฟ้าพยายามต้านทานการโหมบุกของนักเตะอังกฤษ อดีตแชมป์โอลิมปิก 3 สมัย (ค.ศ. 1900, 1908, 1912) น. 12 ก็ต้องเสียประตูแรก 0 - 1 ผู้เล่นไทยแทบจะไม่ได้ครองลูกเลยนอกจากนำบอลมาตั้งเขี่ยเพื่อเริ่มเกมใหม่เท่านั้น
ครึ่งแรกทีมไทย 0 ทีมอังกฤษ 4 ครึ่งหลังทีมสิงโตคำรามที่มีรูปร่างสูงใหญ่ เปิดเกมถล่มตาข่ายด้วยลูกสูตรกลางอากาศ และยิงเพิ่มได้อีกถึง 5 ประตูจากลูกโหม่งทั้งหมด ทีมชาติไทยจึงตกรอบสุดท้าย เมื่อพ่ายแพ้ต่อทีมชาติอังกฤษ 0 - 9
แม้ว่าทีมไทยจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ทุกคนก็สามารถทำหน้าที่ได้อย่างดีที่สุดแล้ว
ดังคำกล่าวของมร.ปิแอร์ เดอร์คูแบร์แตง ชาวฝรั่งเศสที่เน้นว่า "สิ่งสำคัญของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกมิใช่อยู่ที่ชัยชนะ แต่อยู่ที่การได้มีส่วนร่วมในเกมการแข่งขัน สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตมิใช่อยู่ที่ความสำเร็จเสมอไป แต่หากอยู่ที่การได้ต่อสู้อย่างดีที่สุด".