ตึกแม้นนฤมิตรหลังใหม่

            ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๙๑ ทางราชการได้เริ่มลงมือสร้างตึกแม้นนฤมิตรหลังใหม่ โดยคงลักษณะกอธิครูปแบบเดิมไว้ เป็นส่วนมากมีนายเพี้ยน สมบัติเปี่ยม เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ และดัดแปลงขยายห้องเรียนเพิ่มอีก ๔ห้องรวมเป็นทั้งหมด ๑๒ห้อง ประมูลราคาที่ ๙๖๔,๐๐๐บาท ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ๑๐เดือนโครงสร้างต่างๆของอาคารเรียนเป็นคอนกรีต เสริมเหล็กพื้นล่างภายในห้องเรียนทั้งหมดราดคอนกรีต แล้วปูด้วยกระเบื้องซีเมนต์พื้นห้องโถงและเฉลียงใช้หินเกร็ดขัด มันส่วนในห้องชั้นบนทุกห้องปูด้วยไม้สักเข้าลิ้นเฉลียงใช้หินเกร็ดขัดมันเครื่องบนหลังคาใช้ไม้เต็งรัง หลังคามุงด้วยกระ เบื้องรอนคู่วิบุลย์ศรี ส่วนฝ้าปุด้วยเซโลเท็กซ์ทับแนวด้วยไม้สักทุกห้องมีโคมไฟฟ้า เพื่อใช้ในเวลากลางคืนด้วยห้องพักครู และห้องทำงานของอาจารย์ใหญ่และผู้ช่วยติดพัดลมเพดานกระดานดำทุกห้อง(ใช้เซโลเท็กซ์ทาสีดำ)อาคารหลังนี้จัดให้ เป็นที่เรียนสำหรับชั้นมัธยมปลายใช้เป็นห้องเรียน๑๐ห้อง ห้องพักครู๑ห้อง ห้องประวัติศาสตร์๑ห้องและได้จัดห้องเล็ก ชั้นล่าง๑ห้องเป็นห้องสำหรับปฐมพยาบาลชั้นบนมีสะพานเชื่อมติดต่อกับตึกโชฏึกเลาหะเศรษฐีระหว่าง ตึกแม้นนฤมิตรและตึกเยาวมาลย์อุทิศมีการติดโทรศัพท์เพื่อให้สามารถทำการติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
            ตึกแม้นนฤมิตรได้สร้างแล้วเสร็จ เมื่อปลายเดือนกันยายนพ.ศ.๒๔๙๒ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้ขนานนามตึกนี้ว่า แม้นศึกษาสถาน ทางสมาคมนักเรียนเก่าร่วมกับโรงเรียนเป็นเจ้าภาพในพิธีเปิดตึกแม้นนฤมิตรหลังใหม่โดยอัญเชิญสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๙ ทรงเปิดแพรคุมนามตึกเรียน และ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นผู้ไขกุญแจเปิดตึก เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๒