นักเรียนเก่า ที่มีชื่อเสียง

นายอุทัย พิมพ์ใจชน


ชื่อ                   : นายอุทัย พิมพ์ใจชน


กลุ่มสาขาวิชา           : สังคมศาสตร์, การเมือง; นิติศาสตร์

อาชีพปัจจุบัน            : ประธาน สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (คนแรก)

สัญชาติ                : ไทย
เชื้อชาติ               : ไทย
ศาสนา                : พุทธ
วันเกิด                : 14 สิงหาคม 2481,   ณ จ.ชลบุรี บ้านตำบลเกาะลอย อ.พานทอง
เป็นบุตรคนที่            : 1  ในจำนวนพี่น้อง 9

บิดา                  : นายไพโรจน์ พิมพ์ใจชน  ครูประชาบาล

มารดา                : นางสมบูรณ์ พิมพ์ใจชน  ชาวนา

ที่อยู่ปัจจุบัน             : 89 หมู่ที่ 7 ต.หนองรี อ.เมือง จ.ชลบุรี

การศึกษา              :
เตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนเทพศิรินทร์ จ.กรุงเทพฯ
นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาตรี
เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษาวิชากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ประวัติการทำงาน        :
รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม (สมัยพลตรีม.ร.ว.คึกฤทธิ์  ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี) 2518

ประธานรัฐสภา, ประธานสภาผู้แทนราษฎร  2519
ประธานสภาผู้แทนราษฎร  2526
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี (ทุกสมัย)
รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรม (สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี)
รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ (สมัยนายชวน  หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี) ก.ย. 2535-19 พ.ค. 2538

รักษาการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ (สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี) 20 พ.ค. 2538-

พรรคการเมือง          :
พรรคประชาธิปัตย์  2512-2519
หัวหน้าพรรค พรรคก้าวหน้า  2526-2531
รองหัวหน้าพรรค, หัวหน้าพรรค พรรคเอกภาพ
(พรรคเอกภาพเป็นพรรคการเมืองใหม่ที่รวมพรรคการเมืองหลายพรรค
พรรคก้าวหน้าเป็นพรรคหนึ่งที่เข้าร่วม) 2533-
ประวัติการสมัคร ส.ส.    :
2512--พรรคประชาธิปัตย์--ชลบุรี--ได้
2518--พรรคประชาธิปัตย์--ชลบุรี--เขต 1--ได้ (คะแนน 43,670)
2519--พรรคประชาธิปัตย์--ชลบุรี--เขต 1--ได้ (คะแนน 41,006)
2526--พรรคก้าวหน้า--ชลบุรี--เขต 1--ได้ (คะแนน 83,075)
2531--พรรคก้าวหน้า--ชลบุรี--เขต 1--ได้ (คะแนน 75,691)
2535--พรรคเอกภาพ--ชลบุรี--เขต 2--ได้ (คะแนน 73,749)
2535 (กันยายน)--พรรคเอกภาพ--ชลบุรี--เขต 2--ได้ (คะแนน 84,920)
2538--พรรคเอกภาพ--ชลบุรี--เขต 2--ไม่ได้ (คะแนน 62,966)
งานอดิเรก             : กอล์ฟ  ขี่ม้า  ปลูกต้นไม้  เลี้ยงปลา

สมาชิกสมาคม ฯลฯ       : ที่ปรึกษาสมาคมธรรมศาสตร์
ที่ปรึกษา สมาคมอ้อยและน้ำตาล ภาคตะวันออก
ที่ปรึกษา มูลนิธิปรีดี พนมยงค์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์     : ม.ป.ช., มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
ม.ว.ม., มหาวชิรมุงกฎไทย
เหตุการณ์ที่น่าสนใจ       :
4 ตุลาคม 2539
"พรรคการเมืองใช่ว่าจะตั้งมาได้ง่ายๆ ยุบมันยุบง่าย แต่ว่าตั้งตั้งมันได้ง่ายๆ
แล้วการที่คนใดคนหนึ่งคิดที่จะมายุบพรรค เพราะคนอื่นเขาอยากมาเข้าพรรคก็มี
และเดี๋ยวนี้ใครมาสมัครเป็นผู้แทนฯต้องถามว่ามีตังค์ไหม แม้แต่คุณไปบอกญาติพี่น้องสิว่าจะลงสมัครผู้แทนฯ

แม่คุณก็จะถามว่าลูกเอ๋ยมีตังค์หรือที่ไปสู่เขาอย่างนี้เป็นต้น
เขาเรียกว่าเป็นสูตรทางการเมืองไทยแล้วว่าสมัครผุ้แทนฯ
จะต้องใช้ตังค์ถ้าใครไม่มีตังค์อย่างไปสมัครเลย มันแทบจะไม่มีโอกาส" (วัฎจักร 13 ตุลาคม  2539)

22 ตุลาคม 2539
ได้คัดค้านที่พรรคเอกภาพที่รับกลุ่มนายเนวิน เข้าพรรคเอกภาพว่า "ผมก็ได้แนะนำคุณไชยยศ

สะสมทรัพย์ ว่าไม่ควรรับคุณเนวิน ชิดชอบ แต่เมื่อมีความชัดเจนว่า
พรรครับคุณเนวินเข้าเป็นสมาชิก ในฐานะที่เป็นที่ปรึกษาของพรรค ผมจึงต้องพิจารณาตัวเอง

เรื่องนี้ได้เรียนให้คุณไชยยศทราบแล้ว" (กรุงเทพธุรกิจ 24 ตุลาคม 2539)
และจากการที่นายไชยยศ สะสมทรัพย์ได้รับกลุ่มนายเนวิน เข้าพรรค นายอุทัย
ที่ปรึกษาพรรคยื่นใบลาออกจากตำแหน่ง พร้อมกับแถลงว่าตนไม่เห็นด้วยกับการรับนายเนวิน

(สยามรัฐสัปดาวิจารณ์ 27 ต.ค. - 2 พ.ย. 39)
7 มกราคม 2540
ได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นคนแรกของประเทศไทย
20 มกราคม 2540
ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับศาลปกครองว่า "เห็นด้วยที่รัฐบาลจะยืดเวลาการจัดตั้งศาลปกครองออกไปจนกว่า

สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจะยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ เพราะถือว่าเป็นการปัดความรับผิดชอบ

รัฐบาลควรจะดำเนินการเรื่องนี้ไปก่อน เพราะการปฎิรูปการเมืองไม่ได้หมายถึง
การร่างรัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียว เรื่องใดที่ทำก่อนได้ก็ควรทำไม่จำเป็นต้องรอ"
(ไทยโพสต์ 21 มกราคม 2540)
3 กุมภาพันธ์ 2540
"ที่รัฐบาลตั้งคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฎิรูปการเมือง ที่จะสนับสนุนกิจกรรมของ ส.ส.ร.

แล้วในเมืองรัฐบาลให้ ส.ส.ร. มาหาแบบแนวทางการปฎิรูปการเมือง
ถ้ารัฐบาลคิดจะสนับสนุนจริงก็น่าจะมาถามว่าจะสนับสนุนอะไร
ถ้าไม่ถามแล้วไปทำเองนั่นไม่ถูก เรื่องนี้เรียกว่าสามัญสำนึกก็ว่าได้" (ไทยโพสต์ 4  กุมภาพันธ์ 2540)

11 กุมภาพันธ์
ได้รองขอรัฐบาลเร่งหนุนงบ โดยกล่าวเรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายของสภาร่างรัฐ
ที่ยังคงไม่สามารถเบิกจ่ายได้ว่าขณะนี้ สสร. จังหวัดสามารถเบิกเงินทดรองจ่ายได้คนละ 1

แสนบาทเท่านั้นจากตั้งไว้จำนวน 1 ล้านบาท (คู่แข่งรายวัน 12 กุมภาพันธ์ 2540)
23 กุมภาพันธ์ 2540
ได้กล่าวถึงนักการเมืองว่า "อย่างนายสุขวิช รังสิตพล ยังไม่รู้ว่าเขารวยมาจากไหน
รวยเท่าไหร่อยู่ๆ ก็นำเงินมาแจก 5 ล้าน 10 ล้าน
อย่างนี้ต่อไปคนจะเป็นรัฐมนตรีต้องเผยทรัยพ์สินให้สาธารณชนได้รู้
ไม่ใช่เก็บใส่ซองไว้เฉยๆ" (ไทยโพสต์ 24 กุมภาพันธ์ 2540)
2 เมษายน 2540
ได้ออกมากล่าวหลังจากพล.อ.ชวลิต ได้ยกเลิกคำสั่งคืนบำเหน็จให้ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจรว่า

"ถ้านายกรัฐมนตรีทำได้อย่างที่พูดจริง   ก็คงทำให้เหตุการณ์ที่จะเลวร้ายดีขึ้นอย่างไรก็ตามการที่

พล.อ.ชวลิตที่จะคืนเบี้ยหวัดให้กับ พ.อ.ณรวค์ต้องเรียกว่า
เรื่องอื่นมีให้ทำมากมายกลับไม่ทำดันไปทำไอ้เรื่องที่จะก่อให้เกิดปัญหา
แต่ก็ยังดีที่อุตส่าห์รับฟังเสียประชาชนยอมถอนคำสั่งของตัวเอง เพราะคำสั่งปลดพ.อ.ณรงค์

เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 16 นั้นถือว่ามีความผิดถึงได้ปลด" (ผู้จัดการรายวัน 3 เมษายน 2540)

2 เมษายน 2540
ได้อ้างเสียงประชาชนว่ายืนยันห้าม ส.ส. เป็นรัฐมนตรีโดยได้กล่าวว่า
"บางครั้งอาจจะไม่สอดคล้องกับความรู้กสึกของ ส.ส แต่ถ้าเราไปฟังเสียงของประชาชนส่วนใหญ่

จะรู้ว่ามีเสียงเรียกร้องแบบนี้มาก ส.ส.ส่วนหนึ่งอาจจะเห็นว่าไม่ดี
ในขณะที่บางคนก็ว่าดีเพื่อที่จะได้แยกทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่ง
ส่วนชาวบ้านก็อยากให้ผู้แทนฯทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่ง  แต่ก็ไม่ได้ห้ามเด็ดขาดว่าไม่ให้เป็นรัฐมนตรีเลย

คนเป็นผู้แทนฯถ้าจะเป็นรัฐมนตรีก็ให้เขาเลือกเองเพราะเขาต้องการแยกหน้าที่ไม่มฃใช่แยกอำน

าจ" (สยามโพสต์ 3 เมษายน 2540)
20 พฤษภาคม 2540
ได้เรียกร้องให้นักการเมืองเร่งพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ และส่งความเห็นมายัง
สสร.โดยได้กล่าวว่า "ที่ผ่านมาผมทำงานบนใจเขามาตลอด
ถ้านักการเมืองพิจารณาก็ขอให้นึกถึงประโยชน์ประชาชน  ตรงไหนที่เห็นว่าปฎิบัติยากก็ให้พูดให้ชัด

แต่ถ้ามันปฎิบัติไม่ได้เพราะไปกระเทือนต่สถานภาพของตัวเอง
ก็คงไม่ใช่เหตุผลที่เหมาะสมในฐานะที่ผมเป็นนักการเมืองมาก่อนก็เห็นว่า
ในการพิจารณาร่างของแต่ละพรรค ก็ควรที่จะออกมาเป็นมติร่วมกัน
และแสดงความรับผิดชอบกับการปฎิรูปการเมืองเพราะเป็นมติออกมา มันจะดูหลักแน่แน่ว
แต่ถ้าให้ฟรีโหวตก็ดูเหมือนว่าไม่ได้รับผิดชอบร่วมกัน
เท่าที่ผมรู้บางพรรคก็บอกว่าจะฟรีโหวตบางพรรคก็บอกว่าจะลงมติ" (สยามโพสต์ 21 พฤษภาคม  2540)

15 มิถุนายน 2540
ได้กล่าวถึงการร่างรัฐธรรมนูญในสมัยจอมพลสฤษด์ ธนะรัตน์
เคยพูดว่าการถอยหนึ่งก้าวเพื่อจะก้าวไปอีกร้อยก้าว
แต่วันนี้การร่างรัฐธรรมนูญจะใช้คำว่าเราถอยไม่ได้อีกแล้ว เราต้องวิ่งไม่ใช่ต้องก้าว

โลกหมุนเร็วถ้าก้าวไปไม่ทันเราสามารถโดดได้ เพราะจุดที่เราจะไปเราเห็นว่าแนวทางที่ดีทางการเมืองเป็นอย่างไร

เพราะเรามองเห็นจากประเทศอื่นที่มีปัญหาว่าเขาทำกันได้ผล
จุดที่เราไปมีเป้าหมายและเป็นแนวทางที่ดีสำหรับการเมือง ในเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับนี้เอาเป้าหมายมาตั้ง

แล้าเอาอนาคตมาวางไว้จะหาว่าหมกเม็ดได้อย่างไร และได้กล่าวว่า
"ใครที่รักระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมาหากษัตริย์เป็นประมุขก็น่าจะยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบ

ับนี้ เมื่อถึงจุดนี้อยากให้เดินไปข้างหน้า ในเมื่อมีทางออกหลายทางก็อย่าไปถกเถียงกัน

ให้มองย้อนไปข้างหลังว่าทำไมถึงเกิดวันนี้ ไปคิดกันว่ารัฐธรรมนูญเกิดจากอะไร
เหมือนกับหนีเสือมาก็ควรจะไปกันต่อมีทางเลือกให้ตั้ง 2-3 ทางแต่กลับเถียงกันจนเสือมากัด

บางครั่งลืมไปว่าเสือกำลังไล่เรามา" (ข่าวสด 16 มิถุนายน 2540)
6 กรกฎาคม 2540
ได้กล่าวถึงบุคคลที่ค้านการร่างรัฐธรรมนูญว่า "มีคน 3
พวกที่พยายามขัดขว้างไม่ให้เกิดรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยได้แก่ 1.พวกการศึกษาดี

ที่บอกว่าต้องรอให้ประชาชนมีการศึกษาดีเสียก่อนแล้ว ประชาธิปไตยจะตามมาเอง
2.พวกมีศีลธรรมดีเห็นว่าคนไม่มีศีลธรรมเมื่อเกิดประชาธิปไตย
บ้านเมืองจะยุ่งเหยิงวุ่นวาย ต้องให้ประชาชนมีศีลธรรมก่อนและ 3.พวกเศรษฐกิจดี
บอกว่าต้องรอให้ปากท้องอิ่มก่อนถ้าประชาชนยังหิวอยู่ มีประชาธิปไตยก็ไม่เกิดประโยชน์

แต่คนเหล่านี้ยังไม่รู้ว่าทั้ง 3
อย่างที่ยังไม่เกิดเพราะประชาธิปไตยยังไม่มาเป็นการเริ่มต้นที่ไม่ถูกจุด" (ไทยโพสต์ 7  กรกฎาคม 2540)

11 กรกฎาคม 2540
"ผมอยากให้นักการเมืองใช้หลักการ 3 อย่างในการพิจารณารับร่างรัฐธรรมนูญ
คือมีมาตรการแก้ไขปัญหาในอดีต หรือมีมาตราในการวางแผนในอนาคตหรือไม่
และสิ่งสำคัญต้องดูว่าร่างรัฐธรรมนูญนั้นฟังเสียงประชาชนแค่ไหน" (สยามโพสต์ 12 กรกฎาคม 2540)

17 กรกฎาคม 2540
"สสร. ไม่ได้พยายามคว่าร่างรัฐธรรมนูญ เพราะไม่มีสิทธิ์ที่จะทำได้
ทำได้เพียงแสดงความคิดเห็นเท่านั้น ร่างรัฐธรรมนูญจะต้องถูกส่งเข้าสู่รัฐสภา
ผมย้ำหลายครั้งว่าร่างฯนี้แม้จะอุดจมูกก็ต้องส่ง" (สยามโพสต์ 18 กรกฎาคม 2540)
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม       :
"เปิดวิสัยทัศน์อุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ" มติชน (8 มกราคม 2540)
"เปิดวิสัยทัศร์ประธานส.ส.ร.ก่อนนำทีมยกร่างรธน." เดลินิวส์ (12 มกราคม 2540
^ ......... !!! อุทัย ลั่นไม่รับรธน.50ชี้ทำการเมืองอ่อนแอเปิดช่องทหารปฏิวัติ จากพันทิปดอตคอม
^ ที่นี่ ทีวีไทย, รายการ: พฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ทางทีวีไทย