นักเรียนเก่า ที่มีชื่อเสียง

พลเอกกฤษณ์ สีวะรา


เกิด ๒๙ มีนาคม ๒๔๕๗ อสัญกรรม ๒๑ เมษายน ๒๕๑๙
เป็นบุตรร้อยตรีชิต และนางละมุล สีวะรา ภริยาคือ คุณหญิง สุหร่าย สีวะรา
การศึกษา
- พ.ศ.๒๔๕๙ ศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนสีตบุตรบำรุง
- พ.ศ.๒๔๖๒ ศึกษาต่อโรงเรียนวัดสามจีน
- พ.ศ.๒๔๖๔ - ๒๔๖๖ โรงเรียนนายร้อยชั้นปฐม
- พ.ศ.๒๔๖๗ ศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย)
- พ.ศ.๒๔๖๘ - ๒๔๗๓ โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์
- พ.ศ.๒๔๗๔ นักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า สอบได้เป็นที่ ๑
- พ.ศ.๒๔๗๙ นักเรียนทำการนายร้อยในโรงเรียนทหารราบ
ประวัติรับราชการ
- พ.ศ.๒๔๗๙ รับพระราชทานยศนายร้อยตรี
- พ.ศ.๒๔๘๑ ผู้บังคับหมวดโรงเรียนทหารราบ
- พ.ศ.๒๔๘๓ รับพระราชทานยศนายร้อยโท ผู้บังคับหมวดกองโรงเรียนนายสิบพลรบ
- พ.ศ.๒๔๘๔ ผู้บังคับหมวดกองโรงเรียนนายสิบทหารราบ
- พ.ศ.๒๔๘๕ รับพระราชทานยศนายร้อยเอก
- พ.ศ.๒๔๘๖ สำรองราชการกองบังคับกองพันทหารราบที่ ๓๓
- พ.ศ.๒๔๘๗ สำรองราชการกองบังคับการมณฑลทหารบกที่ ๔
- พ.ศ.๒๔๘๘ รับพระราชทานยศพันตรี
- พ.ศ.๒๔๘๙ ผู้บังคับกองร้อยที่ ๔ กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
นายทหารฝึกหัดราชการโรงเรียนทหารราบ 
- พ.ศ.๒๔๙๐ ประจำกองบังคับการกรมจเรทหารราบ
รองผู้บังคับกองพันที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๔๙๑ ผู้บังคับกองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๔๙๒ รักษาราชการผู้บังคับกองดุริยางค์มณฑลทหารบกที่ ๑
รับพระราชทานยศพันโท
- พ.ศ.๒๔๙๓ ผู้บังคับกองพันที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๔๙๕ รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๔๙๖ รับพระราชทานยศพันเอก
- พ.ศ.๒๔๙๙ รับพระราชทานยศพลจัตวา 
- พ.ศ.๒๕๐๐ รองผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ ผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ 
รับพระราชทานยศพลตรี
- พ.ศ.๒๕๐๓ รองแม่ทัพกองทัพภาคที่ ๑ รักษาราชการผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ แม่ทัพภาค กองทัพภาคที่ ๒   
- พ.ศ.๒๕๐๔ รับพระราชทานยศพลโท
- พ.ศ.๒๕๐๖ แม่ทัพภาค กองทัพภาคที่ ๑
- พ.ศ.๒๕๐๘ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก รับพระราชทานยศนายพลเอก 
รักษาราชการแม่ทัพกองทัพภาคที่ ๑
- พ.ศ.๒๕๐๙ รองผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ.๒๕๑๒ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- พ.ศ.๒๕๑๓ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- พ.ศ.๒๕๑๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- พ.ศ.๒๕๑๖ ผู้บัญชาการทหารบก รับพระราชทานยศพลเรือเอก
พลอากาศเอก
- พ.ศ.๒๕๑๗ รักษาราชการผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- พ.ศ.๒๕๑๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ราชการพิเศษ หรือตำแหน่งพิเศษ
- พ.ศ.๒๔๘๕ ราชการสนามในสงครามมหาเอเชียบูรพา 
- พ.ศ.๒๔๙๒ ราชองครักษ์เวร และร่วมอำนวยการปราบปรามจลาจลเมื่อ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒
- พ.ศ.๒๔๙๔ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ ๒ และร่วมการปราบปรามกบฏ เมื่อ ๒๙ มีนาคม ๒๔๙๔
- พ.ศ.๒๕๐๐ นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ และร่วมทำการรัฐประหาร เมื่อ ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐
- พ.ศ.๒๕๐๒ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
- พ.ศ.๒๕๐๓ นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 
- พ.ศ.๒๕๐๗ นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๕๑๑ สมาชิกวุฒิสภา
- พ.ศ.๒๕๑๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาลูกเสือแห่งชาติ
- พ.ศ.๒๕๑๓ สภานายกราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ.๒๕๑๖ นายทหารพิเศษ ประจำกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์
- พ.ศ.๒๕๑๗ ตุลาการศาลทหารสูงสุด เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบ เป็นคณะกรรมการอำนวยการ
และบริหารงานป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ ผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
ทั่วไป นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์
นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญที่ได้รับพระราชทาน
- พ.ศ.๒๔๘๕ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๔๙๐ เหรียญจักรมาลา
- พ.ศ.๒๔๙๑ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๔๙๓ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๘ ชั้นที่ ๔
- พ.ศ.๒๔๙๖ ตริตาภรณ์ช้างเผือก เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ ๓
- พ.ศ.๒๔๙๙ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๕๐๓ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๕๐๔ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
- พ.ศ.๒๕๐๕ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
ประถมาภรณ์ช้างเผือก เหรียญชัยสมรภูมิ (มหาเอเชียบูรพา)
- พ.ศ.๒๕๐๖ มหาวชิรมงกุฎ
- พ.ศ.๒๕๐๙ ทุติยจุลจอมเกล้า มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
- พ.ศ.๒๕๑๑ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เหรียญราชการชายแดน
- พ.ศ.๒๕๑๗ เหรียญพิทักษ์เสรีชน (ชั้นที่ ๑)
ผลงานที่สำคัญ
- ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ ๒, ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาราชการ 
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ท่านได้พยายามมอบนโยบายแก่ผู้บังคับบัญชาของกองทัพ
ภาคที่ ๒ เพื่อหาทางวางกำลังทหารที่จังหวัดสกลนคร ทำให้มีหน่วยทหารเข้ามาตั้ง
ในพื้นที่เพื่อทำการปราบปรามผู้ก่อการร้ายจนเป็นที่ยำเกรงของอริราชศัตรู ทำให้
ประชาชนได้รับความอบอุ่นโดยทั่วกัน กองทัพบกจึงได้อนุมัติให้ตั้งชื่อค่ายกองพันที่ ๑ 
กรมทหารราบที่ ๓ จังหวัดสกลนคร ว่า "ค่ายกฤษณ์สีวะรา" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ท่าน