นักเรียนเก่า ที่มีชื่อเสียง

พลเรือเอกอดุล ตุลยานนท์


พลเรือเอกอดุล ตุลยานนท์
       ท่านเคยเป็นผู้บังคับบัญชาการทหารเรือในอดีตของกรมยุทธการทหารเรือ ท่านเคยเป็นในช่วง ๖ เมษายน ๒๕๑๖ - ๓๐ กันยายน ๒๕๑๖
       ส่วนด้านประวัติการรบของท่าน
ประวัติการรบ 
       เมื่อในอดีต เมื่อปี พ.ศ. 2493 ได้เกิดกรณีพิพาทระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ประเทศไทยในฐานะสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ได้จัดส่งกำลังทหารทั้ง 3 เหล่าทัพไปทำการร่วมรบกับสหประชาชาติ ทางด้านกองทัพเรือได้จัดตั้งหมู่เรือปฏิบัติการร่วมกับสหประชาชาติ เรียกโดยย่อว่า หมู่เรือ " มส ." ประกอบด้วย เรือรบหลวงประแส ( ลำที่ 1 ) และเรือหลวงบางปะกง ( ลำที่ 1 ) ทำหน้าที่เรือคุ้มกัน เรือหลวงสีชัง ( ลำที่ 1 ) เป็นเรือลำเรียง เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2493

        จากการที่กองทัพเรือได้จัดส่งกำลังทางเรือเข้าปฏิบัติการร่วมกับองค์การสหประชาชาติ กรณีพิพาทระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ ซึ่งในการรบกองทัพเรือต้องสูญเสีย เรือรบหลวงประแสไป ในเวลาต่อมารัฐบาลไทยจึงให้กระทรวงการต่างประเทศ ติดต่อซื้อเรือจากประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 2 ลำ คือ เรือหลวงท่าจีน ( ลำที่ 2 ) และเรือหลวงประแส ( ลำที่ 2 ) และได้นำออกไปปฏิบัติการในสงครามเกาหลี เรือทั้งสองลำซื้อมาในราคา 861,940 เหรียญสหรัฐ

ต่อมาในวันที่ 14 กันยายน 2494 ทร.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการรับเรือทั้งสองลำที่ญี่ปุ่นโดยมีดังนี้ น.อ.วิเชียร พันธุ์โภคา เป็น ผบ.หมู่เรือฟริเกตร่วมรบสหประชาชาติ ( มฟ. ) น.ท.จรูญ โอสถรูป เป็น ผบ. ร.ล.ท่าจีน ( PF 1 ) น.ท.อมร ศิริกายะ เป็น ผบ. ร.ล.ท่าจีน ( PF 2 )

        วันที่ 29 ตุลาคม 2494 มีพิธีรับมอบเรือทั้งสองลำที่ท่าเรือหมายเลข 12 โยโกสุกะ โดยมีเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่น นายสง่า นิลกำแหง เป็นประธานรับมอบฝ่ายไทย ต่อมาในวันที่ 26 ธันวาคม 2494 เรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส ออกเดินทางไปยังฐานทัพเรือซาเซโบ เพื่อรับหน้าที่แทน เรือหลวงบางปะกง และเข้าสังกัดกองเรือสหประชาชาติในวันที่ 29 ธันวาคม 2494 

ภารกิจในสงครามเกาหลี

ภารกิจแรกของ เรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2494 คือ ออกเรือลาดตะเวนปิดอ่าวคุ้มกันเรือลำเลียง เรือบรรทุกน้ำมัน เรือกวาดทุ่นระเบิด ระดมยิงฝั่งเป็นครั้งคราว โดยมียุทธบริเวณตั้งแต่ท่าเรือปูซานฝั่งตะวันออก เรื่อยไปจนถึงวอนซานในเกาหลีเหนือ 

ภารกิจระดมยิงฝั่ง

         วันที่ 25 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2495 เรือหลวงประแส ยิงรบกวนเวลากลางคืน ที่หมู่บ้านอิสซิน อ่าวของจีน ระยะ 4,200 เมตร ยิงกระสุนดาว 16 นัด และส่องวิถี 33 นัด ตรวจที่หมายบนฝั่ง ในเวลา 2 ปีเศษ เรือหลวงประแส ออกปฏิบัติรวม 32 ครั้ง เวลาประมาณ 300 วัน เรือหลวงท่าจีนออกปฏิบัติการรวม 25 ครั้ง เวลาประมาณ 220 วัน 

การสับเปลี่ยนกำลังพล

       วันที่ 17 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2495 ทร. มีคำสั่งให้ยุบ มฟ. และให้นายทหารประจำเรือหมู่เรือเดินทางกลับ พร้อมเปลี่ยนกำลังพลเรือทั้งสองลำ สหประชาชาติอนุมัติให้เรือหลวงประแสเดินทางมาเปลี่ยนกำลังพลครั้งแรกในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2496 ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเยี่ยมเรือหลวงประแส ในเดือนธันวาคม 2496 จากนั้น เรือเดินทางกลับถึงซาเซโบในวันที่ 3 มกราคม 2497 เปลี่ยนกำลังพลครั้งที่สอง ออกจากโยโกสุกะในวันที่ 29 มิถุนายน 2497 และเดินทางกลับถึงซาเซโบใน 29 กรกฎาคม 2497 

เสร็จสิ้นภารกิจ

       หลังจากที่สงครามเกาหลีใต้ได้ยุติลงในวันที่ 27 กรกฎาคม 2497 สถานการณ์อินโดจีนกำลังรุนแรง รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายถอนกำลังทหารกลับประเทศไทย ในวันที่ 6 มกราคม 2498 มีคำสั่งกลาโหมให้ถอนกำลัง มส. พร้อมทั้งเรือหลวงประแส และเรือหลวงท่าจีนเดินทางคุ้มกันลำเลียงทหารบกกลับสู่ประเทศไทย
       ก่อนเดินทางกลับ เรือได้เข้าซ่อมทำที่อู่โยโกสุกะ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2497 ในวันที่ 6 มกราคม 2498 น.ท. สงัด ชลออยู่ ผบ.มส.ได้เข้าพบ นายพล Hull ผบ.สูงสุดกองกำลังสหประชาชาติ ซึ่งหมู่เรือของเราได้รับคำชมเชย และได้เกียรติบัตรรบร่วมในสงครามเกาหลี
        เมื่อเรือซ่อมทำเสร็จ ได้ออกเดินทางไปเมืองปูซาน ในวันที่ 21 มกราคม 2498 โดยเดินทางคุ้มกันเรือ Neikosan Meru ที่ลำเลียงทหารบก กลับสู่ประเทศไทย ถึงกรุงเทพในวันที่ 31 มกราคม 2498 มีพิธีต้อนรับและจัดกำลังพลเรือเข้าร่วมสวนสนาม ที่ลานพระราชวังดุสิต นับเป็นครั้งแรกของราชนาวีไทย ที่ได้ปฏิบัติการรบในสมรภูมิต่างประเทศ และได้นำชื่อเสียงทหารเรือไทยไปให้ชาวต่างชาติได้ประจักษ์

 จากการรบ หมู่เรือได้รับเหรียญกล้าหาญ ดังนี้
1. Chungmu Distinguished Service Medal of Korea 
2. US.Bronze Star 
3. เหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ ( เกาหลี ) 
4. เหรียญชัยสมรภูมิ ( เกาหลี )

ผบ. เรือหลวงประแส ( ลำที่สอง) ระหว่างสงครามเกาหลี
1. น.ต.อมร ศิริกายะ 2494-24953
2. น.ต.เฉิดชาย ถมยา 2495-2496
3. น.ต.อดุล ตุลยานนท์ 2496-2497