7 วิชาชีพ ที่สามารถทำงานได้ในทุกประเทศของอาเซียน


 บันทึกโดย Admin  22 ต.ค 2556


             จากที่จะมีการรวมตัวของประเทศในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ เป็น Asean Economics Community (AEC) เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน มีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone โดยมีผลประโยชน์ อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนทำจะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว) โดยอาเซียนจะรวมตัวเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” อย่างจริงจังในวันที่ 1 มกราคม 2558 

             ทั้งนี้ได้มีการกำหนดให้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ หรือแรงงานเชี่ยวชาญได้อย่างเสรี โดยเบื้องต้นได้กำหนดครอบคลุม 7 อาชีพ  ได้แก่
- อาชีพวิศวกร( Engineering Services)
- อาชีพพยาบาล (Nursing Services)
- อาชีพสถาปนิก(Architectural Services)
- อาชีพการสำรวจ (Surveying Qualifications)
- อาชีพนักบัญชี (Accountancy Services)
- อาชีพทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
- อาชีพแพทย์ (Medical Practitioners)

ที่มา Mthia News




           กรณีของ MRAs นั้นเป็นการอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพ โดยต้องเป็นการเคลื่อนย้ายเฉพาะแรงงานฝีมือและต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ใน MRAs ของอาเซียนซึ่งปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามใน MRAs ไปแล้ว 7 วิชาชีพ คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก นักสำรวจ และนักบัญชี และ 1 กลุ่มอาชีพคือการท่องเที่ยว  แต่อุปสรรคของการเคลื่อนย้ายแรงงานกลุ่มนี้  คือ 1)ต้องขึ้นทะเบียนวิชาชีพ (รับรองคุณสมบัติวิชาชีพ อาจต้องมีการทดสอบตามมาตรฐานที่กำหนด) ในประเทศปลายทาง 2)ต้องได้รับใบอนุญาตทำงานจากประเทศที่เข้าไปทำงาน     3)ต้องปฏิบัติตามกฎ/ระเบียบของประเทศที่เข้าไปทำงาน    ซึ่งในกรณีของไทยเราระบุว่าต้องมีประสบการณ์ กล่าวคือ ไม่ใช่ผู้จบการศึกษาใหม่ เช่น พยาบาลต้องมีประสบการณ์อย่างน้อย 3 ปี แพทย์ต้องมีประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปี เป็นต้น
ที่มา  เดลินิวส์

ผู้เข้าชม : 6900