หม่อมแม้น ปฐมเหตุแห่ง ''แม้นนฤมิตร''


 บันทึกโดย Admin  29 เม.ย. 2557

หม่อมแม้น ธิดาใน เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) กับท่านผู้หญิงเอม เกิดมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2409 ต่อมา ได้เสกสมรส กับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษี พระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

คุณแม้น เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2409 ท่านเป็นธิดาคนเล็ก ในเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) สมุหพระกลาโหม ในสมัยรัชกาลที่ 5 กับท่านผู้หญิงอิ่ม โดยคุณแม้น มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 9 คน

กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชกับหม่อมแม้น

ต่อมาในปี พ.ศ.2422 ขณะที่คุณแม้นอายุ 13 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ขอคุณแม้น เพื่อให้เสกสมรส กับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษี (พระราชโอรสองค์ที่ 55 ในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ซึ่งต่อมา ทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช


หม่อมแม้น มีโอรสและธิดา กับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษี 3 องค์ คือ 

พระเจ้าวรวงศ์ พระองค์เจ้านิพันธ์ภาณุพงศ์ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช

, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช

 และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตร์มงคล

 


ขณะที่ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์ เจ้าเฉลิมเขตร์มงคล ทรงมีพระชันษาเพียง 2 พรรษา หม่อมแม้นก็ถึงอนิจกรรม เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2438 ด้วยวัยเพียง 30 ปี โดยได้รับพระราชทานเพลิงศพในปี พ.ศ.2451 พร้อมกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช (พระโอรส ซึ่งสิ้นพระชนม์ ระหว่างการศึกษาวิชาทหาร ที่เยอรมัน) ณ เมรุหลวงวัดเทพศิรินทราวาส โดยต่อมา ได้บรรจุอัฐิไว้ที่อนุสาวรีย์ในตึกแม้นนฤมิตร



เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษี ทรงสนิทเสน่หาหม่อมแม้นมากจึงมิได้ทรงมีหม่อมห้าม จนเมื่อหม่อมแม้นถึงอนิจกรรม หลายปีต่อมา จึงทรงมีหม่อมอีกและด้วยความเศร้าพระทัย จึงทรงพระราชทานทุนทรัพย์ก่อสร้างตึกแม้นนฤมิตร เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลแก่พระชายาโดยได้รับพระราชทานนาม จากพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อให้เป็นอาคารเรียน แก่โรงเรียนเทพศิรินทร์


ตึกแม้นนฤมิตร

ตึกแม้นนฤมิตร เป็นอาคารเรียนหลังแรก ของโรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งได้รับการออกแบบ ให้เป็นศิลปะแบบโกธิก โดยสมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้านริศรานุวัติวงศ์ เป็นผู้ออกแบบ แต่ในช่วงสงคราม ตึกแห่งนี้ถูกระเบิด ทำให้ไม่สามารถใช้ ทำการเรียนการสอนได้ และอาคารได้รับความเสียหายมาก จึงมีการสร้างอาคารหลังใหม่แทน แต่ยังคงศิลปะโกธิกเช่นเดิม ซึ่งอาคารหลังใหม่นี้ ได้รับการขนานนามว่า "ตึกแม้นศึกษาสถาน"

 

 

ผู้เข้าชม : 6336