|
โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ดร.ชลิตภากร วีรพลิน(ท.ศ.๗๒๖๒) เป็นราชบัณฑิต
บันทึกโดย Admin 28 ธ.ค. 2558
ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิต
นายชลิตภากร วีรพลิน
สำนัก : ศิลปกรรม
ประเภทวิชา : สถาปัตยศิลป์
ประวัติการศึกษา
- โรงเรียนเทพศิรินทร์ (ท.ศ.๗๒๖๒ เข้าเรียนปี พ.ศ.๒๔๙๒)
- สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๔๙๙
- Master of Urban andRegional Planning มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียสหรัฐอเมริกา, ๒๕๐๖
- Master of Architecture มหาวิทยาลัยมิชิแกนสหรัฐอเมริกา ๒๕๑๒
ประวัติการทำงาน
ตำแหน่งปัจจุบัน : ประธานคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ผังเมือง
เกียรติคุณ : เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาวชิรมงกุฎสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาการออกแบบชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๖
ผลงานสำคัญ
- หัวหน้าโครงการกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นในและชั้นนอกวางผังเมืองเฉพาะ นำมาออกเป็นข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
- หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑลพ.ศ. ๒๕๒๔ เสนอ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และได้นำเข้าในแผนพัฒนาฯฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๔)
- หัวหน้าโครงการวางผังเมืองและผังชนบท ระดับประเทศ และระดับภาค ๖ ภาคคือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาค เหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีขอบเขตการศึกษาและวิเคราะห์ที่สำคัญคือสถานการณ์ภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาพื้นที่ในแต่ละภาคซึ่งยึดถือ วาระแห่งชาติเป็นกรอบคือ
๑) การแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้
๒) การเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
๓) การพัฒนาทุนทางสังคม
๔) การพัฒนาที่ยั่งยืนตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้การวางผังเมืองและผังชนบท เต็มพื้นที่ประเทศไทยและครอบคลุมพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกองค์กรด้วย
- หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑลพ.ศ. ๒๕๒๔ เสนอ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และได้นำเข้าในแผนพัฒนาฯฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๔)
- หัวหน้าโครงการวางผังเมืองและผังชนบท ระดับประเทศ และระดับภาค ๖ ภาคคือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาค เหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีขอบเขตการศึกษาและวิเคราะห์ที่สำคัญคือสถานการณ์ภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาพื้นที่ในแต่ละภาคซึ่งยึดถือ วาระแห่งชาติเป็นกรอบคือ
๑) การแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้
๒) การเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
๓) การพัฒนาทุนทางสังคม
๔) การพัฒนาที่ยั่งยืนตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้การวางผังเมืองและผังชนบท เต็มพื้นที่ประเทศไทยและครอบคลุมพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกองค์กรด้วย
ที่มา : ราชกิจจานุเบกษา
ราชบัณฑิต คือ "นักปราชญ์หลวง" ที่เป็นสมาชิกขององค์การวิทยาการของรัฐคือ ราชบัณฑิตยสถานโดยต้องเป็นผู้ที่มีเกียรติประวัติดีงาม ได้รับการยอมรับและการยกย่องจากผู้รู้ในศาสตร์สาขาเดียวแห่งตนและจากคนทั่วไป มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า ๓๕ ปี ได้รับการคัดเลือกจากสภาราชบัณฑิตว่าเป็นผู้รู้ในสาขาวิชาใดสาขาหนึ่งที่มีกำหนดไว้ในราชบัณฑิตยสถาน เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตและจะได้รับค่าสมนาคุณเป็นรายเดือน
ที่มา : วิกิพีเดีย
ผู้เข้าชม : 2012