ลำดับเหตุการณ์ ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนเขาพระวิหาร


 บันทึกโดย Admin  12 พ.ย. 2556


 



ลำดับเหตุการณ์

ยาวนานกว่า 50 ปี ปมพื้นที่ทับซ้อนเขาพระวิหาร

 

15 มิถุนายน 2505ศาล โลกมีมติด้วยคะแนน 9 ต่อ 4 เสียง ให้กัมพูชาเป็นเจ้าของปราสาทเขาพระวิหาร และให้เจ้าหน้าที่ของประเทศไทยถอนกำลังออกจากปราสาท และบริเวณใกล้เคียง พร้อมกับคืนวัตถุโบราณทั้งหมด ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย เนื่องจากเห็นว่าการตัดสินดังกล่าวไม่ยุติธรรม เพราะศาลโลกพิจารณาตัดสินเพียงแผนที่ฉบับเดียวเท่านั้น

10 กรกฎาคม 2505 คณะรัฐมนตรีมีมติ กำหนดเส้นขอบเขต และถอนกำลังทหาร-เจ้าหน้าที่ตำรวจ ออกมาจากปราสาทและพื้นที่ใกล้เคียง
 
14 มิถุนายน 2543 ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนาม MOU สำรวจจัดทำเขตแดนสำหรับไทยกัมพูชา
 
18 มิถุนายน 2544พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรี ร่วมแถลงกับ นายฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในการร่วมมือพัฒนาและอนุรักษ์พื้นที่ปราสาทเขาพระวิหาร ร่วมกับองค์กรยูเนสโก

ปี 2549 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เจรจาปักเขตแดน ระหว่างไทย ลาว และกัมพูชา ในพื้นที่สามเหลี่ยมมรกต โดยไทยยินดีที่จะให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก

ปี 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของกัมพูชา เดินทางมาเยือนไทยเพื่อหารือเรื่องการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากมีการทักท้วงจากสภากลาโหมของไทยว่า กัมพูชาสร้างหลักฐานหวังฮุบพื้นที่
 
ปี 2551 นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ไม่ได้คัดค้านการจดทะเบียนของกัมพูชาแต่อย่างใด พร้อมยอมเลื่อนจุดปักเขตแดนอีก 3 กิโลเมตร ต่อมานายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้นำแผนที่รอบปราสาทเขาพระวิหารใหม่ที่ทางกัมพูชาเสนอเข้าที่ประชุมสภาความ มั่นคงแห่งชาติ แต่มีกองกำลังบูรพาคัดค้าน เนื่องจากแผนที่ดังกล่าวทำให้ประเทศไทยเสี่ยงต่อการเสียดินแดน

18 มิถุนายน 2551 นายสมัคร สุนทรเวช เห็นชอบแถลงการณ์ร่วมไทย กัมพูชา ตามที่ นายนพดล ปัทมะ นำเสนอ แต่ศาลปกครองกลางพิจารณาให้แถลงการณ์เป็นโมฆะ เพราะยังไม่ได้มีการเสนอต่อที่ประชุมสภาฯ ก่อน อีกทั้งยังมีเหตุกระทบต่อความมั่นคง และอาณาเขตของประเทศไทย
 
15 ตุลาคม 2551 เกิดเหตุปะทะกันระหว่างไทยกับกัมพูชา บริเวณผามออีแดง จ.ศรีสะเกษ
 
ปี 2553 รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คัดค้านบริหารของกัมพูชา พร้อมส่งนายสุวิทย์ คุณกิตติ ให้คัดค้านแผนที่โดยรอบ ต่อกรรมการมรดกยูเนสโก ที่ประชุมอยู่ประเทศบราซิล

29 ธันวาคม 2553นาย วีระ สมความคิด, นางราตรี พิพัฒนาไพบูลย์, ร้อยเอกแซมดิน เลิศบุศย์ ถูกสั่งจำคุกในข้อหาเดินทางข้ามพรมแดนโดยผิดกฎหมาย และรุกล้ำเขตทหาร

เมษายน 2554 ทหารไทยและทหารกัมพูชาปะทะกันหลายครั้ง บริเวณปราสาทตาควาย และพนมดงรัก ทำให้ทหารทั้งสองฝ่ายได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายนาย

28 เมษายน 2554 กัมพูชายื่นให้ศาลโลกตีความ คดีปราสาทเขาพระวิหาร และให้ออกมาตรการชั่วคราวให้ไทยถอนกำลังออกจากพื้นที่

18 กรกฎาคม 2554ศาล โลกได้ออกมาตรการชั่วคราว 4 ข้อ ให้ไทยและกัมพูชาถอนกำลังออกจากพื้นที่พิพาท และยินยอมให้อาเซียนเข้าสำรวจพื้นที่ และห้ามให้ไทยและกัมพูชาดำเนินการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดข้อพิพาทร่วมกันอีก

18 ตุลาคม 2554 รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เห็นชอบให้ปฏิบัติตามคำสั่งชั่วคราวของศาลโลก โดยใช้ของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา โดยมีสองฝ่ายเป็นประธานร่วมกัน
 
21 พฤศจิกายน 2554 ไทยยื่นเอกสารข้อเขียนฉบับแรก เป็นข้อสังเกตโดยโต้แย้งคำของกัมพูชา ที่ขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษา 2505

21 ธันวาคม 2554 ที่ประชุม JBC ไทยกัมพูชาครั้งที่ 8 ที่กรุงพนมเปญ มีมติจัดตั้งคณะทำงานร่วม JWG เพื่อหารือเรื่องปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการชั่วคราว
 
21 มิถุนายน 2555 ไทยยื่นเอกสารข้อเขียนฉบับที่ 2 อธิบายโต้แย้งคำตอบของกัมพูชา มีมติให้เก็บกู้ระเบิดร่วมกัน ในพื้นที่ที่จำเป็นต่อเขตปลอดทหารชั่วคราว ก่อนปรับกำลังทหารออกจากพื้นที่ โดยให้คณะสังเกตการณ์จากอินโดนีเซียเข้าร่วม

18 กรกฎาคม 2555 ไทยกัมพูชาปรับกำลังทหาร

17 ธันวาคม 2556 ที่ประชุม JWG เตรียมแผนเก็บกู้ระเบิด

15-19 เมษายน 2556ศาลโลกนัดไทย-กัมพูชา กล่าวถ้อยคำแถลงฝ่ายละ 2 รอบ

11 พฤศจิกายน 2556 ศาลโลกอ่านคำพิพากษา
16.12 น. ผู้พิพากษาศาลโลกเริ่มด้วยการสรุปเกี่ยวกับคำพิพากษาเมื่อปี 2505 เกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ตามด้วยคำฟ้องของกัมพูชาที่ให้ยื่นขอตีความใหม่

16.19 น. ศาลโลกรับตีความคำร้องของกัมพูชา และมีอำนาจที่จะตีความคำพิพากษา ปี 2505

16.24 น. ศาลปฏิเสธที่จะตัดสินตามคำขอของกัมพูชา ที่ให้รับรองสถานะของแผนที่ภาคผนวก 1 ในฐานะเครื่องกำหนดเส้นเขตแดน เพราะอยู่นอกเหนือขอบเขตคำพิพากษาเดิม และจะพิจารณาคำพิพากษาปี 2505 เฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหารเท่านั้น

16.38 น. ศาลบอกว่าการขีดเส้นตามมติ ครม. ปี 2505 ไม่ถูกต้องตามคำพิพากษาของศาล เพราะไม่ได้กำหนดตามแผนที่ภาคผวนก 1 แต่กำหนดตามสันปันน้ำ

16.55 น. ศาลโลกมีมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่ากัมพูชามีอธิปไตยในดินแดนทั้งหมดของปราสาทพระวิหาร และประเทศไทยต้องถอนทหารตำรวจจากเขตแดนดังกล่าว และให้ไปเจรจากันเอง

http://news.sanook.com

"ทูตวีรชัย"ชี้คำพิพากษาศาลโลกไม่ได้เอื้อตามคำขอของ"เขมร"

เมื่อเวลา 17.34 น. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ พร้อมด้วย นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะหัวหน้าคณะต่อสู้คดีปราสาทเขาพระวิหาร

แถลงภายหลังศาลโลกได้มีคำพิพากษาในดคีปราสาทเขาพระวิหาร โดย นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ผลคำพิพากษาของศาลโลกในวันนี้ ถือว่าเป็นที่น่าพอใจของฝ่ายเราในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หน้าที่ในการชี้แจงผลการพิพากษา ตนจะมอบให้ทูตวีระชัย เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดทั้งหมด

ด้านทูตวีรชัย กล่าวว่า คำพิพากษาในวันนี้ ที่ออกมาศาลได้ชี้เป็นประเด็นต่างๆ เริ่มจาก ศาลมีอำนาจในการวินิฉัย ในคำร้องของกัมพูชาในครั้งนี้หรือไม่ ต่อมาศาลได้วินิจฉัย พื้นที่ใกล้เคียงกับตัวปราสาท ที่ศาลใช้คำเรียกว่า ตัวปราสาท นั้น จะมีตัวเขตจำกัดอย่างไร แต่ไม่ได้มีแผนที่แนบ

เบื้องต้นของเรียนว่า ฝ่ายกัมพูชาไม่ได้รับในพื้นที่ , 4.5, 4.6 , 4.7 ตารางกิโลเมตร หรืออะไรก็ตาม ทางกัมพูชาไม่ได้สิ่งที่ได้เรียกร้อง พื้นที่ภูมะเขือฝ่ายกัมพูชา ก็ไม่ได้ ศาลก็ไม่ได้ ชี้ในเรื่องของเขตแดน ศาลไม่ได้ตัดสินในเรื่องของเขตแดน เว้นแต่ พื้นที่แคบมากๆ ศาลได้พยายามเน้นพื้นที่เล็กอย่างมากดังนั้น พื้นที่นี้ยังคำนวณอยู่ และศาลไม่ได้ระบุว่า แผนที่ 1.200,000 เป็นส่วนหนึ่งของคำตัดสินเมื่อปี พ.ศ.2505 ตรงนี้ ตนถือว่า เป็นจุดที่มีความสำคัญอย่างมาก นอกจากนี้ศาลยังแนะนำให้ ทั้งสองฝ่าย มารือร่วมกัน ในการที่จะดูแลตัวปราสาทในฐานะเป็นมรดกโลก ซึ่งศาลแนะนำให้ร่วมมือกัน

http://www.oknation.net


ที่มา : กระปุกดอทคอม


ท่านทูตวีรชัย แถลงหลังศาลโลกมีคำตัดสินคดีพระวิหาร 11-11-2013



นายกยิ่งลักษณ์ แถลง หลังศาลโลกตัดสินเขาพระวิหาร 11-11-2013

ผู้เข้าชม : 6471