กำเนิดตึกนิภานภดล

            การศึกษาพระปริยัติธรรม ในสมัยเจ้าอาวาสองค์แรกนั้น ได้อาศัยพลับพลายกระดับ ในบริเวณหน้าวัด เป็นที่สอนชั่วคราวเมื่อ สร้างศาลาการเปรียญแล้ว จึงย้ายไปสอนที่ศาลาการเปรียญ จนถึงพ.ศ.๒๔๓๓ ย้ายไปสอนที่โรงเรียนพระยานรรัตน์ราชมานิต คณะกลาง เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้าย หม่อมเจ้าพระศรสุคตคัตยานุวัตร จากวัดราชบพิตร มาทรงเป็นผู้บัญชาการ โรงเรียนนี้จนถึง พ.ศ.๒๔๓๗ ได้จัดโรงเรียนเจ้าพระยานรรัตน์ เป็นที่ประทับ จึงย้ายไปสอนที่โรงเรียนนิภานภดล ส่วนคณะใต้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าหญิงนิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตรขัตติยนารี ทรงเป็นพระธิดาใน องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคำนึงถึงการศึกษาปริยัติธรรมของภิกษุ สามเณร ที่สืบต่อมาแต่โบราณกาลจนบัดนี้ รู้สึกมีความเลื่อมใสศรัทธา
            ด้วยเห็นว่าการเล่าเรียนศึกษาเป็นการเกื้อกูลฝ่ายปฏิบัติ เมื่อเจริญรุ่งเรืองเพียงใดก็เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ปวงชนเพียงนั้น ครั้น สมัยที่พระองค์ทรงเจริญ พระชนมพรรษาครบ ๒๘ พรรษา เสมอพระชนมพรรษาแห่ง องค์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ทูลกระหม่อมย่า ตามธรรมเนียมนิยมว่า ผู้เนื่องในสกุลควรจะปรารภสมัยนั้นเช่นนั้น เป็นเหตุกระทำปฏิบัติสนองพระเดชพระคุณ ในพระองค์ท่านจึงยินดีบริจาคทรัพย์ จำนวน ๔๐,๐๐๐บาท เพื่อสร้างถาวรวัตถุให้เป็นที่สะดวกแก่ การศึกษาพระปริยัติธรรม ในสำนักวัดเทพศิรินทราวาส ซึ่ง องค์สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทูลกระหม่อมของ พระองค์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นโดยพระบรมราชูทิศถวายแก่ ทูลกระหม่อมย่า และ พระอารามแห่งนี้ ก็ได้ให้ การศึกษายั่งยืนเจริญสถานเป็นลำดับไม่ขาดสาย จึงสมควรที่จะสร้างถาวรวัตถุนั้นลงในพระอารามนี้ สถานที่ก่อสร้างตึกนิภา นภดลนั้นเดิมเป็นกุฏิหม่อมแย้ม อยู่หลังหนึ่งซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก ถ้าจะซ่อมให้ดีก็เสีนค่าซ่อมเหมือนสร้างใหม่ จึงรื้อออกเพื่อ สร้างตึกนิภานภดล แต่ครั้งสร้างไปไม่ทันไรก็เกิดมหาสงครามขึ้นในทวีปยุโรป ไม่เป็นการที่จะทำได้สะดวกจึงต้องงดเอาไว้ จนมหา สงครามสงบลง แต่ราคาที่กำหนดไว้แต่เดิมนั้น ได้เพิ่มขึ้นอีก๒๒,๐๐๐บาท รวมทั้งเงินที่ผู้มีศรัทธาช่วยอีกบ้างอยู่ในจำนวนนี้เป็น ๖๒,๐๐๐บาท ได้อาราธนาพระสาสนโสภณ เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์ ช่วยเป็นธุระดำริอันเป็นกิจอันควรแก่กิจจำนงนั้นโดยเริ่มให้ ช่างตั้งแต่ ปีพ.ศ.๒๔๖๖ เป็นตึก๒ชั้นพื้น และ เสาแทรกผนังรับคานคอนกรีต มีมุขขวาด้านตะวันออก และ ตะวันตกขนาดกว้างมุขละ ๙เมตร สูงจากพื้นล่าง๕เมตร จากพื้นจนท้องขื่อ ๕.๑๐เมตร ตั้งแต่ระดับพื้นดินสูงระดับยอด ๑๗.๐๕ เมตร มีถนนเล็กเชื่อมฐาน ตึกด้านใต้ มีเขตล้อมด้วยกำแพงรั้วคอนกรีตโดยรอบ ภายในตึกชั้นล่างมี ๖ห้อง ชั้นบนมี ๕ห้อง บันไดขึ้น ชั้นบนทางมุขตะวันตก มีเครื่องใช้สอยตามสมควร บันไดคู่ลงพื้นที่มุขตรงประตูกำแพงทั้งสองด้านเหนือ ในตึกหลังนี้เครื่องบนใช้ไม้ตะแบกนอกนั้น ใช้ ไม้สักหลังคามุมกระเบื้อง ซีเมนต์แบบไทยค่าก่อสร้างราคา ๖๐,๐๐๐ บาท ค่าโต๊ะเก้าอี้ โคมระย้าสองระย้า เครื่องไฟฟ้า และ สายล่อ ฟ้าราคา๒,๐๓๖.๓๕บาท รวมราคาก่อสร้างสำหรับโรงเรียนนี้ราคา ๖๒,๐๓๖.๓๕ บาทนับว่าการสำเร็จสมพระประสงค์แล้วและเมื่อ วันที่ ๔ ธันวาคมพ.ศ.๒๔๖๗ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติของพระองค์ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าหญิงนิภานภดลกรมขุนอู่ทอง เขตรขัตติยนารเสด็จมาบำเพ็ญพระกุศล ณ วัดเทพศิรินทราวาสพร้อมด้วยพระอรรคชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ (พระวิมาดา เธอกรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา) และพระประยูรญาติ กับข้าราชบริพาร เป็นอันมากในการฉลองและเปิดโรงเรียนนิภา นภดลและถวายสถานที่สร้างขึ้นนี้ในท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ มีพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นชินวรสิริรัตน์สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเป็น ประธาน ให้เป็นสมบัติของวัดเทพศิรินทราวาสสำหรับเป็นโรงเรียนภาษาบาลีในพระอาราม พระองค์อุทิศถวายวัตถุทานการกุศลทั้ง ปวงนี้แด่ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ องค์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

จนถึง ปีพ.ศ.๒๔๗๓ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าหญิงนิภานภดล กรมขุนอู่ทอง เขตรขัตติยนารี ทรงบริจาคเงินอีกเพื่อเป็นค่าทาสีตึกนิภานภดลให้เป็นจำนวน ๑๕๐บาท