นักเรียนเก่า ที่มีชื่อเสียง

พระยานิติศาสตร์ไพศาล



ประวิติส่วนตัว
พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ เดิมชื่อ วัน จามรมาน เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2431
ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 10 ปีชวด ณ ที่บ้านเชิงสะพานยศเส ตำบลสระปทุมวัน อำเภอ
ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรจมื่นเสนาสงคราม (ช้าง จามรมาน) กันนางพลอย จามร
มาน มีพี่น้องรวม 6 คน ในปี พ.ศ. 2452 ได้ทำการสมรสกับคุณหญิงนิติศาสตร์ไพศาลย์ (ฟื้น
รัตนสาขา) มีบุตรธิดารวม 8 คน และยังมีบุตรธิดากับภรรยาอื่น ๆ อีก
ประวัติการศึกษา
เริ่มการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนวัดเทพธิดาราม สำเร็จชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียน
เทพธิดารามในปี พ.ศ. 2443 สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมัธยมราชบูรณะ ในปี พ.ศ.
2445 สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาพิเศษจากโรงเรียนสวนกุหลาบ ในปี พ.ศ. 2446 และได้อุปสมบทที่
วัดชนะสงคราม ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 ได้เข้าเป็นนักเรียนล่ามประจำศาลฎีกา ศาลแพ่ง ศาล
อุทธรณ์และศาลคดีต่างประเทศตามลำดับ ในขณะเดียวกันได้ศึกษากฎหมายที่โรงเรียน
กฎหมายกระทรวงยุติธรรมและสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตชั้น 2 จากโรงเรียนกฎหมายในปี พ.ศ.
2453 และได้รับราชการเป็นผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศ และในปี พ.ศ. 2454 กระทรวง
ยุติธรรมได้ส่งไปศึกษาวิชากฎหมายที่สำนักเกรยส์อินน์ ประเทศอังกฤษ สำเร็จเป็นเนติบัณฑิต
อังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2459 และในปี พ.ศ. 2459 ได้ฝึกหัดว่าความ ศึกษาเป็นพิเศษในกฎหมาย
อาชญา และกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคลกับธรรมศาสตร์ จากสำนักงานนาย อี.
เอช. คูมป์ และอินออฟคอร์ต
ประวัติการรับราชการ
พ.ศ. 2450 ตำแหน่งล่าม กองล่ามกระทรวงยุติธรรม
พ.ศ. 2451 ตำแหน่งนักเรียนล่ามนอกอัตราประจำพระยามหิธร (หมอมาเซา) ศาล
ฎีกา และประจำนายแอสตัน กองพิมพ์ลายมือ
พ.ศ. 2452 ตำแหน่งนักเรียนล่ามนอกอัตรา ล่ามกรรมการร่างโค๊ตประจำนาย
แอสตันศาลแพ่ง และตำแหน่งนักเรียนล่ามกองล่ามประจำพระยาวิเทศ
(เชอริตัน) ศาลอุทธรณ์
พ.ศ. 2453 ตำแหน่งล่ามกองล่าม ประจำนายบัสสาส ศาลคดีต่างประเทศ
พ.ศ. 2454 ตำแหน่งผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศ
พ.ศ. 2460 ตำแหน่งผู้พิพากษาศาลพระราชอาชญา
พ.ศ. 2462 ตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการศาลฎีกา
พ.ศ. 2463 เจ้ากรมกองการต่างประเทศ กรมราชเลขาธิการ
พ.ศ. 2465 ผู้ช่วยสมุหพระนิติศาสตร์
พ.ศ. 2469 ผู้ช่วยราชเลขาธิการฝ่ายต่างประเทศ ว่าที่อธิบดีกรมพระอาลักษณ์
พ.ศ. 2470 อธิบดีกรมพระอาลักษณ์
พ.ศ. 2473 ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
พ.ศ. 2474 อธิบดีผู้พิพากษาศาลพระราชอาชญา
พ.ศ. 2475 อธิบดีผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศ
พ.ศ. 2476 ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ รัฐมนตรีทำการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ยุติธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
พ.ศ. 2479 กรรมการศาลฎีกา
พ.ศ. 2480 ข้าราชการตุลาการสามัญชั้นพิเศษอันดับ 4
พ.ศ. 2483 ข้าราชการตุลาการสามัญชั้นพิเศษอันดับ 5
พ.ศ. 2486 ออกจากราชการเพราะครบเกษียณอายุ
งานพิเศษ
พ.ศ. 2461 เป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทชนชาติศัตรู
พ.ศ. 2462 ช่วยราชการศาลฎีกา
เป็นกรรมการสอบไล่กฎหมายสนามสถิตยุติธรรม
เป็นอาจารย์สอนกฎหมายโรงเรียนกฎหมาย
เป็นกรรมการเนติบัณฑิตยสภา
3
เป็นอาจารย์สอนกฎหมายแผนกรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นกรรมการศาลรับสั่งพิเศษคดีที่ดินวัดศรีสุริยวงศ์
เป็นกรรมการร่างพระราชบัญญัติสมุดเอกสารและหนังสือพิมพ์
เป็นกรรมการร่างกฎหมายคุ้มครองวรรณคดีและศิลปกรรม
ผู้ช่วยกรรมการสภาการคลัง
เป็นอนุกรรมการสภาการคลังตรวจงบประมาณกระทรวงพาณิชย์และ
คมนาคมกับตรวจงบประมาณกรมตรวจคนเข้าเมือง
ผู้ช่วยเลขาธิการกรรมการสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์
ทำการในหน้าที่เลขาธิการกรรมการองคมนตรี
ทำการในหน้าที่เลขานุการเสนาบดีสภา
พ.ศ. 2467 นายเรือตรี ปลัดกรมพระธรรมนูญเสือป่า
รักษาราชการแทนราชเลขาธิการ
พ.ศ. 2473 เป็นกรรมการร่างกฎหมาย
พ.ศ. 2474 เป็นผู้แทนกระทรวงยุติธรรมในคณะกรรมการสำรวจวิธีการภาษีอากร
เก่า ๆ และที่เป็นอยู่ในเวลานี้ตามพระบรมราชโองการ
พ.ศ. 2475 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. 2476 เป็นกรรมาธิการพิจารณาเรื่องบำนาญที่ตั้งไว้สูงเกินไปและเรื่อง
บำนาญข้าราชการที่ต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร
เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
เป็นประธานกรรมาธิการพิจารณาเรื่องการปรับอัตราเงินเดือน
ข้าราชการ
เป็นกรรมาธิการบำเหน็จบำนาญ
เป็นกรรมาธิการพิจารณางานและการบรรจุข้าราชการของกระทรวง
พลเรือน
พ.ศ. 2477 เป็นศาสตราจารย์วิสามัญ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เป็นกรรมการโดยคุณวุฒิมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เป็นประธาน อ.ก.พ. กระทรวงยุติธรรมโดยตำแหน่ง
เป็นประธานกรรมการตรวจร่างพระราชบัญญัติการจับจองที่ดิน
เป็นกรรมการบำเหน็จบำนาญ
เป็นกรรมาธิการสามัญพิจารณาการเปิดเผยรายงานการประชุมลับ
เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ ประจำปี
พ.ศ. 2478
4
เป็นกรรมาธิการสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.
2477
เป็นประธานกรรมาธิการพิจารณาบำเหน็จความชอบในการปรากบถ
เป็นประธานกรรมการสะสางบทกฎหมายเก่าที่ขัดต่อระบอบการ
ปกครองประชาธิปไตย
เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการตุลา-
การ พ.ศ. 2477
พ.ศ. 2478 รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี
รักษาการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เป็นประธานกรรมการพิจารณาร่างคำแปลประมวลกฎหมายว่าด้วย
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
เป็นประธานกรรมการตรวจร่างคำ แปลประมวลกฎหมายที่จะ
ประกาศใช้ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2478 รวม 5 ฉบับ
พ.ศ. 2479 เป็นประธานกรรมการตรวจพิจารณาข้อสังเกตของนานาประเทศ
เกี่ยวกับประมวลกฎหมายไทย
พ.ศ. 2480 เป็นประธานกรรมการตามพระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษา
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2476
พ.ศ. 2484 ทำการแทนประธานศาลฎีกา ระหว่างพระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์
ลาป่วย
พ.ศ. 2490 – 2492 ประธานกรรมการธนาคารออมสิน
พ.ศ. 2492 เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2500 ได้รับปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
งานเขียน
1. คำสอนประวัติศาสตร์กฎหมายไทยชั้นปริญญาตรีและปริญญาโท
2. กฎหมายอาญาพิสดาร (คำสอนชั้นปริญญาโท)
3. ตำนานกฎหมายว่าด้วยศาล
4. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
5. ฝึกฝนตนเอง
6. อิสระของผู้พิพากษาและองค์ธรรมสี่ประการของผู้พิพากษาตระลาการ
7. พรรคการเมือง
8. หลักวิชาว่าความ
5
9. กว้างศอก ยาววา หนาคืบ และการเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของศาสตราจารย์
พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2461 เหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา
พ.ศ. 2463 จตุรถาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2465 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
พ.ศ. 2466 ตริตาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2467 เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้น 3
พ.ศ. 2468 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
พ.ศ. 2468 เหรียญบรมราชาภิเศก
พ.ศ. 2470 เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้น 4
พ.ศ. 2471 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
พ.ศ. 2472 ทุติยจุลจอมเกล้าฯ (พานทอง)
พ.ศ. 2475 เหรียญฉลองพระมหานคร
พ.ศ. 2477 เหรียญจักรพรรดิมาลา
พ.ศ. 2478 เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2482 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2494 ปถมาภรณ์มงกุฎไทย
พ.ศ. 2498 ปถมาภรณ์ช้างเผือก
ยศและบรรดาศักดิ์
พ.ศ. 2461 เป็นอำมาตย์ตรีหลวงอรรถกัลยาณวาทย์
พ.ศ. 2462 เป็นอำมาตย์โทพระนิติศาสตร์ไพศาลย์
พ.ศ. 2463 เป็นเสวกโทพระนิติศาสตร์ไพศาลย์
พ.ศ. 2464 เป็นเสวกเอกพระนิติศาสตร์ไพศาลย์
พ.ศ. 2466 เป็นเสวกเอกพระยานิติศาสตร์ไพศาลย์
พ.ศ. 2470 เป็นมหาเสวกตรีพระยานิติศาสตร์ไพศาลย์
พ.ศ. 2473 เป็นมหาอำมาตย์ตรีพระยานิติศาสตร์ไพศาลย์
ออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2486 เพราะครบเกษียณอายุ
6
พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ถึงอนิจกรรมเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2510 รวมอายุได้ 79
ปี 6 เดือน ด้วยเส้นโลหิตฝอยในสมองแตกเป็นอัมพาต มีโรคแทรกและปอดบวม
ความรู้สึกต่อศาลและกระทรวงยุติธรรม
1. ผู้พิพากษาตระลาการมีอำนาจกุมไว้ซึ่งชีวิต เสรีภาพและทรัพย์สมบัติของประชาชน
พลเมืองต้องมีหลักประกันแก่พลเมืองด้วยคุณธรรมสี่ คือ
1.1 ปราศจากฉันทาคติ คือ ทำจิตให้นิราศขาดจากโลภ อย่าได้เห็นแก่ลาภ
โลกามิศสินจ้างสินบน
1.2 ปราศจากโทษาคติ คือ ให้กระทำจิตให้เสมอ อย่าได้ไต่ไปตามอำนาจ โทษา
พยาบาทจองเวร
1.3 ปราศจากภยาคติ คือ ไม่หวั่นไหวต่อภัยความกลัวฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลย
อย่าสะดุ้งหวาดเสียวว่าผู้นี้เป็นอธิบดีมียศศักดิ์และเป็นราชตระกูลประยูรวงศ์อันยิ่งใหญ่
1.4 ปราศจากโมหาคติ คือ ไม่หลง
2. ต้องมีหลักประกันแก่ผู้พิพากษาตระลาการให้มีอิสระเต็มที่ในการพิจารณาพิพากษา
คดีให้เป็นไปตามบทกฎหมาย ปราศจากการรังแกจากฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติ